“กลด” ไม่ถือเป็นอัฐบริขาร สำหรับพระธุดงค์ แต่เป็นคำเรียกที่มาจากภาษาบาลี หมายถึง การนำจีวรมากั้นเป็น
top of page

“กลด” ไม่ถือเป็นอัฐบริขาร สำหรับพระธุดงค์ แต่เป็นคำเรียกที่มาจากภาษาบาลี หมายถึง การนำจีวรมากั้นเป็น



ในสมัยพุทธกาล “กลด” ไม่ถือเป็นอัฐบริขาร 1 ใน 8 อย่าง สำหรับพระธุดงค์ แต่เป็นคำเรียกที่มาจากภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า จีวรกุฏิ หมายถึง การนำจีวรมากั้นเป็นมุ้งสำหรับใช้บัง . พระไตรปิฎกได้มีการอธิบายในเรื่องของการใช้กลด แต่ไม่ได้มีการกล่าวถึงกลดที่ใช้เรียกเป็นชื่อเครื่องใช้หรืออัฐบริขารสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เมื่อครั้งที่พระสารีบุตร หรือที่เรารู้จักกันว่า ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งก่อนที่ท่านจะไปจาริกในที่ต่างๆ ท่านไม่ได้รับเสนาสนะ หมายถึงที่อยู่อาศัยหรือที่นอนชั่วคราวสำหรับสงฆ์ เหตุเกิดจากพระฉัพพัคคัย์ ได้จับจองเสนาสนะให้กับพระที่สนิททั้งหลายจนหมดสิ้น ไม่เหลือไว้ให้พระสารีบุตร สิ่งนี้จึงทำให้พระสารีบุตรซึ่งเป็นผู้สันโดษ มักน้อยอยู่แล้ว ได้ทำการใช้สิ่งของที่มีอยู่มาประดิษฐ์เป็นกลด โดยนำเอาจีวรมาผูกรวมเป็นมุ้งสำหรับบัง เพื่อใช้เป็นที่พักชั่วคราวตลอดทั้งคืน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์เช่นนี้ จึงได้ประชุมภิกษุสงฆ์ และกล่าวให้เคารพตามพรรษา ให้นำเสนาสนะกับผู้ที่มีพรรษาแก่กว่าได้ใช้ก่อน . และนี่ก็เป็นที่มาของกลดที่เราเห็นกันอยู่กันในปัจจุบัน ซึ่งกลดได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยมาเรื่อยๆ ไม่ได้นำจีวรนำมัดรวมกันเพื่อทำเป็นมุ้งบังเหมือนเมื่อก่อน แต่ได้ใช้เป็นผ้ามุ้งขนาดใหญ่แทน อีกทั้งยังมีร่มกลดเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับสวมใส่กับมุ้งกลด ไว้ใช้สำหรับบังแดด กันฝน สิ่งนี้ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่พระสงฆ์มากยิ่งขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก กระทู้สนทนาธรรมปี 2555

หากข้อมูลที่นำมาผิดพลาดประการใด ทางต้นธรรม ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


ดู 8 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page