9 พ.ย. 20211 นาที

ใครได้ประโยชน์จากการเข้าพรรษาบ้าง❓

⛈ ในช่วงแรกของสมัยพุทธกาล ยังไม่มีการจำพรรษาของเหล่าพระภิกษุ
 
ต่อมาเมื่อพระภิกษุได้จาริกไปยังที่ต่างๆ ในฤดูฝน ได้เหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้าน
 
รวมถึงสัตว์ขนาดเล็ก ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจึงไม่พอใจ พากันติเตียนพระภิกษุ
 
ความทราบถึงพระบรมศาสดา จึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุอยู่อยู่จำพรรษา
 
ในสถานที่อันควรแก่สมณะวิสัยตลอดสามเดือนใน ฤดูฝน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
.

🔸 เมื่อคราวพระภิกษุจาริกโปรดสัตว์ หรือ ปลีกวิเวกนอกพรรษากาล
 
ย่อมมีโอกาสได้เจริญพระกรรมฐาน อันเป็นกระทำวิปัสสนาธุระ
 
ซึ่งเป็นกิจของภิกษุในศาสนาประการหนึ่ง ส่วนเมื่อถึงคราวเข้าพรรษา
 
ย่อมได้พักผ่อนในวัดวาอารามเป็นหลักแหล่ง ทั้งมีโอกาสได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม
 
อันเป็นคันถธุระซึ่งเป็นกิจของภิกษุประการที่สองให้บริบูรณ์ด้วย

.

🌾 ฝ่ายคฤหัสถ์ นอกจากจะไม่ถูกรบกวนโดยการเหยียบย่ำเรือกสวนไร่นาแล้ว
 
ความสมบูรณ์ด้วยองค์คุณของพระภิกษุ เพราะ ทำกิจธุระในพระศาสนาทั้งสองประการ
 
ดังกล่าวข้างต้นให้ถึงพร้อมแล้ว เมื่อเล่าเรียนปริยัติและอยู่เป็นหลักแหล่งในพรรษากาล
 
ชาวบ้านย่อมได้มีโอกาสรับฟังพระธรรมเทศนา อันเป็นการส่งเสริมปัญญาที่ถูกต้อง
 
ส่งผลเกิดความเลื่อมใสในพระภิกษุ ส่วนการทำวิปัสสนาธุระให้ถึงพร้อม
 
ย่อมทำให้ชาวบ้านผู้เลื่อมใสศรัทธา ได้สร้างกุศลต่างๆ ในเนื้อนาบุญที่ดี
 
มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น
 
อันเป็นการได้รับประโยชน์ทั้งในชาตินี้และภพชาติต่อไป สมดังกับพุทธพจน์ที่ว่า

.

❝ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานมิใช่จักมีผลมาก
ด้วยการถึงพร้อมแห่งไทยธรรมอย่างเดียว
ที่แท้ทานจักมีผลมาก ก็ด้วยความถึงพร้อมแห่งจิตที่เลื่อมใส
และด้วยความถึงพร้อมแห่งเขต
เพราะฉะนั้น ทานวัตถุเพียงสักข้าวกำมือหนึ่งก็ดี
เพียงผ้าเก่าผืนหนึ่งก็ดี เพียงเครื่องลาดทำด้วยหญ้าก็ดี
เพียงเครื่องลาดทำด้วยใบไม้ก็ดี เพียงสมอดองน้ำมูตรเน่าก็ดี
บุคคลมีจิตเลื่อมใสแล้วตั้งไว้ในทักขิไณยบุคคล
ทานแม้นั้นก็จักมีผลมาก รุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก ดังนี้ ❞
    10
    0