25 พ.ย. 20211 นาที

🔶 ประเภทของการเข้าพรรษา : ปัจฉิมพรรษา

จะเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ใช้ในกรณีที่ พระภิกษุต้องเดินทางไกล หรือ
มีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกไม่ทัน
ดังนั้น พระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษา จึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน
แต่ก็จะได้พรรษาเช่นเดียวกัน

——————————🔸🔸 ——————————

✅ ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์

ในระหว่างพรรษานั้น อาจมีกรณีจำเป็นบางอย่าง

ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษา ต้องออกจากสถานที่จำพรรษา

พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา

โดยมีเหตุจำเป็น เฉพาะกรณี ๆ ไป ตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก

ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนา หรือ การอุปัฏฐานบิดามารดา

แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน

การออกนอก ที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า ❝ สัตตาหกรณียะ ❞

ซึ่งเหตุที่ทรงระบุว่า จะออกจากที่จำพรรษาไปได้ชั่วคราวนั้น อาทิเช่น

👉 #การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 และมารดาบิดา

👉 #การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5

👉 #การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือ การไปทำสังฆกรรม เช่น สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น

👉 #หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้.

🍂 ซึ่งหากพระสงฆ์ออกจากอาวาส แม้โดยสัตตาหกรณียะ ล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัย

ก็ถือว่าขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎ เพราะรับคำ แต่ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะ

และ กลับมาตามกำหนด ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ และสามารถ กลับมาจำพรรษาต่อเนื่องไปได้

🍂 และหากมีเหตุจำเป็น ที่จะต้องออกจากที่จำพรรษาไปได้ตามวินัยอีก

ก็สามารถทำได้โดยสัตตาหกรณียะ แต่ต้องกลับมาภายในเจ็ดวัน

เพื่อไม่ให้พรรษาขาด และไม่เป็นอาบัติ ทุกกฎดังกล่าวแล้ว

——————————🔸~ สาธุ ~🔸 ——————————

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 👇

📲 0863396461

👉 ชมสินค้าอื่นๆของต้นธรรม https://tontham.com/

📬 m.me/tondhum ทัก inbox มาถามก็ได้ค่ะ

💭 https://lin.ee/kJLeV6M ทักไลน์ถามข้อสงสัยต่าง ๆ ได้เลย

    70
    0